วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความเป็นมา
1. สภาพทั่วไป
พื้นที่ภาคเหนือตอนบน มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนต่อเนื่องกันไปตลอดแนวชายแดนมีราษฎรอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไป แนวชายแดนฝั่งตรงข้ามมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยูู่่ เช่น ว้า , ไทยใหญ่ , คะฉิ่น , และกระเหรี่ยง ตลอดห้วงระยะที่ผ่านมาได้มีการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่างๆ บริเวณแนวชายแดน ทำให้ราษฎรชาวไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนได้รับผลกระทบจากกรสู้รบอยู่เสมอนอกจากนั้นในปัจจุบัน ได้เกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติดอย่างรุนแรง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการผลิตจากภายนอกประเทศ แล้วลักลอบลำเลียงขนส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตามช่องทางต่างๆ ตามแนวชายแดน กระทำในลักษณะเป็นขบวนการ สำหรับ ราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา มีการอพยพถิ่นฐานอยู่ตลอดเวลา ยึดอาชีพทำไร่เลื่อนลอยเป็นหลัก ทำให้ไม่มีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน มีความยากจนเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้านมีความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถเดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือและพัฒนาได้สะดวก ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าว ผลกระทบต่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้
ปัญหาความปลอดภัยตามแนวชายแดน
ปัญหายาเสพติด
ปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้
ปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส
ในห้วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างที่ประทับอยู่นี้ได้้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องิ่นต่างๆ ให้แก่ราษฎร ซึ่งกองทัพภาคที่ 3 ได้ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ดำเนินการสนองตอบให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ในรูปแบบโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
2. ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นปัญหาประการต่างๆ ภายในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองกำลังภาคที่ 3 มีความหลากหมายและซับซ้อน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้โดยลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความปลอดภัยตามแนวชายแดน ปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติด จึงได้พระราชทานแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแก่ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบกเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 มีใจความสรุปได้คือ
2.1 การสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนต้องกระทำในลักษณะผสมผสาน มีการเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อสร้างความใกล้ชิด
2.2 จะต้องได้ข้อมูลพื้นที่ปฏิบัติการทั้งหมดรวมทั้งปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของราษฎร
2.3 การปฏิบัติงานจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย
2.4 พื้นที่เพ่งเล็งในการปฏิบัติงานได้แก่ พื้นที่ช่องทางกิ่วผาวอก จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงอำเภอปางมะผ้าจังหงัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้ลักษณะการดำเนินงานมิใช่โครงการใหญ่แต่เป็นงานเล็กๆ เช่น ฝานกั้นน้ำ และใช้ระบบการส่งน้ำด้วยท่อโดยกลุ่มหรือสมาคมแม่บ้านควรมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือ ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในห้วงที่ผ่านมาคือโครงการห้วงตึงเฒ่า และหากการดำเนินต่อราษฎรในพื้นที่สูงสามารถประสานกับหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้โดยตรง
3. วัตถุประสงค์
หลังรับพระราชทานแนวทางข้างต้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ผู้บัญชาการทหารบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 3 เป็นหน่วยดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งกองทัพภาคที่ 3 ได้สรุปแนวทางพระราชทานดังกล่าว กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ 4 ประการ ได้แก่
3.1 เพื่อให้ความปลอดภัยแก่ราษฎรตามแนวชายแดน ปราศจากการคุกคามของผู้มีอิทธิพลในท้องที่และกองกำลังต่างชาติ
3.2 เพื่อให้เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการเสพ การค้า และการร่วมขบวนการ
3.3 เพื่อให้ราษฎรตมแนวชายแดนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.4 เพื่อให้ราษฎรตามแนวชายแดน มีความรักประเทศไทย มีความเป็นคนไทยมากขึ้นและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการในทุกเรื่อง
4. การดำเนินงานการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การเตรียมการและกำหนดหมู่บ้านเป้าหมาย
ขั้นที่ 2 การสำรวจข้อมูลหมู่บ้านและจัดทำแผน
ขั้นที่ 3 การดำเนินงานตามแผนงานการปฏิบัติของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
กองทัพภาคที่ 3 ได้แต่งตั้ง ผู้บังคับการตำรวจตระเวรชายแดนภาค 3 เป็นรองประธานกรรมการตมคำสั่งที่ 231/2543
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดนตามแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ชายแดน เมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2543 โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ แนวทางปฏิบัติ และเป้าหมายการดำเนินงานโครงการเพื่อให้เป็นตามแนวทางพระราชทานฯ
2. จัดทำแผนแม่บทโครงการ แผนงานประจำปี และดำเนินงานโครงการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด
3. แต่งตั้งคณะทำงาน บุคคล หรือ เจ้าหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานตามความจำเป็น
4. จัดตั้งกองอำนวยการโครงการ ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
5. ปฏิบัติงานและหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่งคงในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ 3

อ้างอิงจาก http://www.bpp.go.th/project/project_10.html

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก
โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนากอ ม. 6 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
พระราชดำริ
เนื่องด้วยวันที่ 24 กันยายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก และทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนากอ ตำบลจอเบาะ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถังเก็บน้ำที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านบูเก๊ะ-ปาลัส ตำบลจอเบาะ ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานดังต่อไปนี้บริเวณหุบเนินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกไปประมาณ 500 เมตร มีทำเลซึ่งสามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กสำหรับรวบรวมเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเพาะปลูกได้ สมควรสร้างอ่างเก็บน้ำที่บริเวณดังกล่าว โดยอ่างเก็บน้ำแห่งนี้สามารถรับน้ำที่ผันมาจากฝายทดน้ำคลองโต๊ะแกลงมาเพิ่มเติมซึ่งจะสามารถช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตหมู่บ้านนากอและหมู่บ้านใกล้เคียงได้จำนวนหลายร้อยไร กรมชลประทานได้ดำเนินการสำรวจภูมิประเทศพร้อมออกแบบเป็นอ่างเก็บน้ำและทางระบายน้ำล้นพร้อมระบบท่อส่งน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
อุปโภค-บริโภค 1 หมู่บ้าน 50 ครัวเรือน
การเกษตร 150 ไร่
การใช้ประโยชน์จากโครงการในปัจจุบัน
สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 150 ไร่
สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 1 หมู่บ้าน 50 ครัวเรือน
ลักษณะโครงการ
ข้อมูลอุทกวิทยา
พื้นที่รับน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ 1 ตารางกิโลเมตร
ก่อสร้างปีงบประมาณ 2530 ใช้งบประมาณ 4,956,000 บาท
ทำนบดินยาว118 เมตร สูง 16.50 เมตร หลังคันกว้าง 6.00 เมตร ความจุ 240,000 ลูกบาศก์เมตร
ทางระบายนํ้าล้น สูง 2.85 เมตร กว้าง 5.00 เมตร ยาว 80 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ท่อส่งนํ้าขนาด 0.10 เมตร ยาว 3,700 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ท่อส่งนํ้าขนาด 0.30 เมตร ยาว 90.00 เมตร จำนวน 1 แห่ง
ถังกรองนํ้า-ถังเก็บนํ้า ความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 แห่ง
การบริหารจัดการน้ำ
ได้ดำเนินการประชุมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ พร้อมชี้แจงยกตัวอย่างกฎระเบียบการใช้น้ำแล้ว จัดตั้งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2530
ข้อมูลการเสด็จพระราชดำเนิน
วันที่ 24 กันยายน 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรฝายทดน้ำคลองโต๊ะแก และทรงเยี่ยมราษฎรบ้านนากอ ตำบลจอเบาะ และเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถังเก็บน้ำที่โรงเรียนร่มเกล้าบ้านบูเก๊ะ-ปาลัส ตำบลจอเบาะ ในเขตอำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

โครงการอ่างเก็บน้ำคลองโต๊ะแก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านนากอ หมู่ที่ 6 ตําบลจอเบาะ อําเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

อ้างอิงจาก http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&id=53:----6---&catid=67:2009-05-04-07-30-15&Itemid=9

โครงการเขาหินซ้อน
แนวคิดและหลักการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
ในการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้เป็นไปตามพระราชดำริ และบรรลุวัตถุประสงค์ ควรจะได้ดำเนินการโดยมีหลักการสำคัญ ๆ คือ
1) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
3 ) การพึ่งตนเอง
4 ) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
5 ) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
6 ) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
1 ) การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
มุ่งช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ที่ราษฎรกำลังประสบ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส ถึงความจำเป็นนี้ว่า "" …..ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก ….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อนแต่ปวดหัว ใช้ยาแก้ปวด… หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัวมันไม่ได้แก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้แล้วอีกอย่างก็คือ แบบ Macro นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย… อย่างบ้านคนอยู่เราบอกบ้านนี้มันผุตรงโน้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ้อม… เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องค้ำเสียก่อนแล้วค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้… ""
2 ) การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น และประหยัด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้คำว่า " ระเบิดจากข้างใน " นั่นคือทำให้ชุมชนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งก่อนแล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้านที่ยังไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว ดังแนวพระราชดำรัสต่อไปนี้ ""… การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและ อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หาก มุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆ ขึ้น ซึ่งอาจจะกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยะประเทศหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอยู่ในเวลานี้… การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ และตั้งตัวให้มีความพอกิน พอใจ ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงในต่อไป โดยแน่นอนส่วนการถือหลักที่จะ ส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์ …""
3) การพึ่งตนเอง
การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพ และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งซึ่งขออัญเชิญมา ณ ที่นี้คือ "… การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่าง เหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลดีที่สุด เพราะฉะนั้นในการช่วยเหลือแต่ละครั้งแต่ละกรณี จำเป็นที่เราจะพิจารณาถึงความต้องการและความจำเป็นก่อน และต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่เราจะช่วยให้เข้าใจด้วยว่าเขาอยู่ ในฐานะอย่างไร สมควรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไร เพียงใด อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป…"
4) การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าควรที่จะสร้างเสริมสิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนซึ่งก็คือความรู้ในการทำมาหากิน การทำการเกษตรโดยให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "ตัวอย่างของความสำเร็จ" มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฏรในชนบทมีโอกาสได้รู้ได้เห็นตัวอย่างของ ความสำเร็จนี้และนำไปปฏิบัติได้เอง พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาทดลอง วิจัยและแสวงหาความรู้ เทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่ราษฎร "รับได้" นำไป "ดำเนินการเองได้" และเป็นวิธีที่ "ประหยัด" เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพของราษฏร ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศนั้นๆ
5) การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
พระองค์ทรงเห็นว่าการพัฒนาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาการเกษตร จึงทรงมุ่งที่จะให้มีการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนา ประเทศ ในระยะยาว พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำนุบำรุงปรับปรุงสภาพของทรัพยากร ธรรมชาติต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็น การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและยังได้ส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างจำกัดอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์ในระยะยาว
6) การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ช่วงแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ( ปี 2530-2534) ปรากฏว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงและรวดเร็ว โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้เปลี่ยนไปสู่การผลิตที่มีภาคอุตสาหกรรมและบริการเป็นหลัก มีผลทำให้สังคมไทย เริ่มเปลี่ยน จากสังคมชนบทสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ความเจริญส่วนใหญ่ก็มักจะอยู่ในเมืองหลักๆ ในภูมิภาคต่างๆ และรอบกรุงเทพมหานคร ในขณะเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ห้วยฮ่องไคร้ ศูนย์ศึกษาฯที่เปรียบดัง พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติมีชีวิต"
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ...นับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งก็มีกลุ่มคนเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติตาม สำหรับเมืองไทยนั้นหนึ่งในรูปธรรมที่เห็นเด่นชัดตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ พื้นที่อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริต่างๆ ที่สร้างคุณประโยชน์มากมายต่อพี่น้องเกษตรกรไทย
"เขาหินซ้อน โครงการพระราชดำริแห่งแรก "
ปัจจุบันนอกจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริคือหนึ่งในพื้นที่ที่อุดมประโยชน์อันสำคัญของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนี่คือโครงการพระราชดำริเด่นๆ 5 แห่งจาก 5 ภาคทั่วประเทศที่แต่ละโครงการต่างก็มีความโดดเด่นน่าสนใจแตกต่างกันออกไป ภาคกลาง : เขาหินซ้อน แม้..."ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" ณ เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในอดีตพื้นที่แถบนี้เป็นป่าดงดิบ มีลักษณะเป็นภูเขาหินตามธรรมชาติก้อนใหญ่ก้อนเล็กระเกะระกะทับซ้อนกันอยู่ทั่วไป ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า"เขาหินซ้อน" ทว่าหลังจากที่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสาย 304 พนมสารคาม-กบินทร์บุรีตัดผ่าน ผลพวงจากการระเบิดหินทำถนน รวมถึงการเปิดทางให้ผู้คนเดินทางเข้าสู่พื้นที่โดยสะดวก ทำให้ชั่วระยะเวลาเพียง 30 กว่าปี ป่าดงดิบเขาหินซ้อนได้ถูกทำลายกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้ ที่เขาหินซ้อน"
แต่ด้วยแนวพระราชดำริ "ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้" หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ เขาหินซ้อน และได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่ดินที่มีผู้น้อยเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านได้พระราชทานพระราชดำริให้ก่อตั้ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ"เมื่อวันที่ 8 มี.ค. พ.ศ.2522 ภายในพื้นที่ 1,895 ไร่ นับเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกของเมืองไทย ปัจจุบันศูนย์การพัฒนาเขาหินซ้อนแห่งนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน แบ่งพื้นที่ภายในศูนย์เพื่อทำการสาธิตและทดลองงานต่างๆ อาทิ งานเกษตรแผนใหม่ งานเลี้ยงสัตว์น้ำ งานศิลปาชีพ โครงการสวนป่าสมุนไพร การทำประมงเลี้ยงปลาสวยงาม และปลาน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธ์ นอกจากนี้ในศูนย์ฯยังมีสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมเอาพรรณไม้ป่า พรรณไม้หายาก พรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และสวนสมุนไพรที่มีประโยชน์จัดแสดงไว้อย่างสวยงามมากมายให้ชม ซึ่งนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวศึกษาดูงานอันน่าสนใจอีกจุดหนึ่งในเมืองแปดริ้ว

อ้างอิงจาก : http://www.ldd.go.th/web_study_center/khoahinson/hinsub/dumri1.asp(9กุมภาพันธ์2553)

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา
เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์
หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่ พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง
โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผลการปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี






โครงการน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนอันเนื่องมาจากพระราชดำริน้ำมันปาลม์กลั่นบริสุทธิ์ทดแทนน้ำมันดีเซลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนชาวไทย ทรงคิดพิจารณาหาหนทางบำบัดทุกข์บำรุงสุขอยู่ตลอดเวลา ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้งานภายในประเทศ หากเกิดวิกฤตการณ์ ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในอนาคตการนำน้ำมันที่สกัดจากพืชมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ก็เป็นโครงการในพระราชดำริอีกโครงการหนึ่ง โดยทรงให้ทดลอง นำน้ำมันปาล์มมาใช้กับ เครื่องยนต์ดีเซล เพราะปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก สูงกว่าพืชชนิดอื่นๆ และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ในกระบวนการผลิดน้ำมันพืชในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นผลผลิต ที่เกษตรสามารถผลิตขึ้นได้เองภายในประเทศการทดลองใช้น้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เริ่มต้นลงมือกันตั้งแต่ เดือนกันยายน 2543 เป็นต้นมา โดยแนวความคิดจากสมมุติฐาน การออกแบบเครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบเดิมที่ออกแบบสำหรับใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีความไวไฟต่ำ เช่น น้ำมันพืชทั่วๆไป และหลักการทำงานพื้นฐานของ เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบันก็ยังคงเดิมอยู่ หากแต่ว่าได้มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเสริมให้ ประสิทธิภาพ และสมรรถนะของเครื่องยนต์ ให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ในการทดลองนี้ได้ นำเอาน้ำมันปาล์มประเภทต่างๆ มาทดลองใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลประเภทต่างๆ ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน รวมไปถึงเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ ที่กำลังจะนำเข้ามาใช้ในอนาคต ทำการทดลองทั้งในห้องทดลองและในสภาพแวดล้อมการใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งปรากฎว่า น้ำมันปาลม์กลั่นบริสุทธิ์ (R.B.D. Palm Olein) มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลมากที่สุด โดยไม่ต้องมีการปรับแต่ง หรือดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่ประการใด ทั้งยังสามารถสลับเปลี่ยนหรือผสมกับน้ำมันดีเซลทั่วไป ได้ทันทีทุกอัตราส่วน ในด้านประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ก็ยังคงให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ออกแบบได้ออกแบบไว้ ทั้งแรงม้า (Power) แรงบิด (Torque) และรอบการทำงานของเครื่องยนต์ และจากการทดลองก็พบว่า ในเครื่องยนต์ดีเซลบางแบบ กลับให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่าการใช้น้ำมันดีเซลธรรมดา หลังจากการทดลองประสบความสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงขอจดสิทธิบัตร ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 ได้สิทธิบัตรเลขที่ 10764 ในชื่อ การใช้น้ำมันปาล์ม กลั่นบริสุทธิ์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลการนำน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ มาใช้แทนน้ำมันดีเซล ก็พบว่าน้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์ หรือที่เรียกกันว่า ปาล์มโอเลอีน ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการปรุงอาหาร มาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อดี ในส่วนที่เป็นน้ำมันสะอาด และมีความไวไฟต่ำทำให้สะดวกในการเก็บ เป็นสารชีวภาพที่สามารถย่อยสลายตัวได้ง่าย หากปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม และจากการทดลองก็พบว่าไอเสียที่ปล่อยจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์ มีคุณภาพดีกว่า น้ำมันดีเซล คือควันดำและเขม่าน้อยมาก ไม่มีกลิ่นฉุน และไม่มีสารซัลเฟอร์ อันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และกัดกร่อนสร้างความเสียหาย แก่อุปกรณ์ในเครื่องยนต์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติด้านการหล่อลื่นในตัวเอง ทำให้ช่วยลดการสึกหรอและเสียงรบกวนของเครื่องยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานยืนยาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ ลดการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร
อ้างอิงจาก: http://technology.thai.net/replacement-energy.html

โครงการแกล้งดิน








ปัจจุบันคนทั่วไป จะคุ้นเคยกับคำว่า"แก้มลิง" อันเป็น โครงการจัดระบบการบริหารจัดการด้าน น้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและ เขตปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ และคนภาคใต้มักจะคุ้นเคยกับคำว่า "แกล้งดิน"มาเป็นเวลาหลายปีแล้วทำไมถึงต้อง "แกล้งดิน " สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราช ฐานและทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคใต้ อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 2516 เรื่อยมา ทำให้ทรง ทราบว่าราษฎรในพื้นที่แถบจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาอยู่นานัปการ ราษฎรขาดแคลนที่ทำกิน อันเป็นสาเหตุสำคัญใน การดำรงชีพพื้นที่ดินพรุที่มีการ ระบายน้ำออกจะแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากสารไพไรท์ที่มีอยู่ในดินทำ ปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วปลดปล่อย กรดกำมะถันออกมามากจนถึงจุดที่เป็น อันตรายต่อพืชที่ปลูกหรือทำให้ผลผลิต ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจึงได้มี พระราชดำริให้จัดตั้ง "โครงการศูนย์ศึกษา การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2524 เพื่อศึกษา และปรับปรุงแก้ไขปัญหาพื้นที่พรุให้ สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้าน อื่นๆ ได้

ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2527 ณ ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจาก พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่อง "แกล้งดิน" ความว่า"...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัดโดย การระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแกล้ง ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัด นราธิวาสโดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ในกำหนด2 ปี และพืชที่ทำการทดลอง ควรเป็นข้าว..."แกล้งดินทำอย่างไร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทำให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด กล่าวคือ การทำให้ดินแห้ง และเปียกโดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลงโดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้แกล้งดินแล้วปรับปรุงดิน : วิธีการที่สำคัญ เมื่อดำเนินการตามกรรมวิธี "แกล้งดิน" แล้วก็ใช้วิธีการปรับปรุงดิน ซึ่งเปรี้ยวจัดให้สามารถใช้เพาะปลูกได้ โดยมีหลายวิธีการด้วยกันดังนี้ ใช้ปูน เช่น ปูนขาว หินปูนฝุ่น ใส่ลงไปในดิน แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปูนจะทำปฏิกริยากับกรดกำมะถันในดิน เกิดสารสะเทิน ปริมาณกรดในดินจะลดลง ซึ่งหากใส่ในปริมาณที่มากพอจะช่วย ให้ดินมีสภาพเป็นกลาง ใช้น้ำจืดล้างกรดและสารพิษออกจากดินโดยตรงวิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน เนื่องจากกรดจะชะล้างออกไปอย่างช้าๆ แต่ได้ผลเช่นกัน - ยกร่อง เพื่อปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น โดยมีคูน้ำอยู่ด้านข้าง ให้นำหน้าดินจากดินในบริเวณที่เป็นคูมา เสริมหน้าดินเดิมที่เป็นคันร่อง ก็จะได้หน้าดินที่หนาขึ้น ส่วนดินที่มีสารไพไรท์จะใช้เสริมด้านข้าง เมื่อใช้น้ำชะล้างกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน้ำชะล้างไปยังคูด้านข้าง แล้วระบายออกไป - ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ให้อยู่เหนือชั้นดินเลนตะกอนทะเล ป้องกันไม่ให้สารไพไรท์ทำปฎิกริยากับออกซิเจน กรดกำมะถันจึงไม่ถูกปลดปล่อยเพิ่มขึ้น - ใช้พืชพันธุ์ทนทานต่อความเป็นกรด มาปลูกในดินเปรี้ยว - ใช้วิธีการต่างๆ ข้างต้นร่วมกันการดำเนินงานศึกษาทดลองอย่างต่อเนื่อง ในโครงการแกล้งดิน ได้มีการดำเนินการในช่วง ต่างๆ ตามแนวพระราชดำริดังนี้ ช่วงที่ 1 (มกราคม 2529-กันยายน 2530) เป็นการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน เปรียบเทียบระหว่างดินที่ปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ กับดินที่ทำให้แห้งและเปียกสลับกัน โดยวิธีการสูบน้ำเข้า-ออก การทำดินให้แห้งและเปียกสลับกัน ดินจะเป็นกรดจัดรุนแรง และมีผล ต่อการเจริญเติบโตของพืช พบว่าข้าวสามารถ เจริญเติบโตได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำช่วงที่ 2 (ตุลาคม 2530-ธันวาคม 2532) ศึกษาการเปลี่ยน แปลงทางเคมีของดินโดยเปรียบเทียบระหว่างระยะเวลา ที่ทำให้ดินแห้งและ เปียกแตกต่างกัน การปล่อยให้ดินแห้งนานมากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการใช้ น้ำแช่ขังดินนานๆ และการให้น้ำหมุนเวียนโดยไม่มีการระบายออก ทำให้ความเป็นกรดและ สารพิษสะสมในดินมากขึ้น ในการปลูกข้าวทดสอบความรุนแรงของกรด พบว่าข้าวตายหลังจากปักดำได้ 1 เดือนช่วงที่ 3 (มกราคม 2533-ปัจจุบัน) ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดิน โดยใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่น ใช้หินปูนฝุ่นอัตราต่ำ เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของดิน หลังจากที่ปรับปรุงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดินเปรี้ยวจัด เมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ ในปริมาณเล็กน้อย พบว่าวิธีการใช้น้ำชะล้างดิน โดยขังน้ำไว้นาน 4 สัปดาห์ แล้วระบายออก ควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณเล็ก น้อยจะสามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด ได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการใช้น้ำชะล้างก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า หลังจากมีการปรับปรุงดินแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก สำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดตามธรรมชาติ ที่ไม่มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลง ของความเป็นกรดน้อยมาก เมื่อปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนิน ตรวจแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็น กรดของดินกำมะถันว่า "...นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่พูดมาสามปีแล้วหรือสี่ปี ว่าต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี้แล้วมันได้ผล... อันนี้ผลงานของเราที่ทำที่นี่ เป็นงานที่สำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศ เขามาดูเราทำอย่างนี้แล้ว เขาก็พอใจ เขามีปัญหานี่แล้วเขาก็ไม่ได้ แก้หาตำราไม่ได้ ..." ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้จัดทำคู่มือ การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อการเกษตรขึ้นเมื่อปี 2536สภาพพื้นที่พรุที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ การยกร่อง ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธภาพหน้าตัดชั้นของดินที่เป็นกรด
แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สำเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทำการเกษตรของราษฎร ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวจัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำริว่า "...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว เหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..."จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว สามารถปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ถึงกับมีรับสั่งว่า "...เราเคยมาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้นๆ เขาทำ แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไรๆ ทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก ที่ใช้งานได้แล้ว ชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น ...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อ ข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้"อย่างไรก็ตาม " โครงการแกล้งดิน " มิได้หยุดลงเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการต่อไป "...งานปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไป ทั้งในแง่การศึกษาทดลองและการขยายผล..." ซึ่งปัจจุบันได้นำผลการศึกษาทดลอง ไปขยายผลแก่ราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้จะมีการนำผลของการ "แกล้งดิน" นำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วยดังนั้น " โครงการแกล้งดิน " จึงเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับราษฎรทั่ว ทั้งประเทศ สร้างความปลื้มปิติ แก่เหล่าพสกนิกรเป็นล้นพ้นที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ยอมตรากตรำพระวรกายลงมา "แกล้งดิน" เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ พ้นจากความยากจนกลับ มาเบิกบานแจ่มใสกันทั่วหน้า

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการแก้มลิง


โครงการแก้มลิง

เป็นโครงการที่อาศัยหลักทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากไปเก็บไว้ที่แก้มลิง จะเอากล้วยไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อน แล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนเข้าไปภายหลัง"ด้วยวิธีการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาเป็นแนวคิดในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯและพื้นที่ใกล้เคียง โดยกำหนดให้มีการหาพื้นที่ว่างหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สามารถรองรับและพักน้ำไว้ได้ในยามน้ำหลากก่อนที่จะค่อยๆ ระบายลงสู่แม่น้ำหรือทะเลในภายหลังเช่นเดียวกับที่ลิงเก็บตุนกล้วยไว้ในแก้มก่อนที่ค่อยๆ ออกมาเคี้ยวกินทีหลังนั่นเองจากหลักการนี้เอง ได้นำไปสู่โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยอาศัยวิธีการผันน้ำจากพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ไหลลงมาตามคลองในแนวทิศเหนือและทิศใต้ มาเก็บกักและพักไว้ในคลองขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล ซึ่งทำหน้าที่เป็นแก้มลิง เมื่อถึงเวลาน้ำลง ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับน้ำในคลองสูงกว่าระดับน้ำทะเล ก็ให้เปิดประตูระบายน้ำที่ปากคลอง เพื่อให้น้ำไหลออกสู่ทะเลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะเดียวกันก็ให้สูบน้ำออกอย่างช้า เพื่อช่วยในการระบายน้ำท่วมจากพื้นที่ตอนบนไหลลง "แก้มลิง" ได้ตลอดเวลาและเมื่อเวลาน้ำขึ้นก็ให้ปิดประตูระบายน้ำปากคลองเสีย เพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่ "แก้มลิง" ซึ่งเป็นไปตามหลักการ "น้ำไหลทางเดียว"ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงมี "แก้มลิง" กระจายอยู่ในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมแทบทุกแห่งทั้ง "แก้มลิง" ที่กรุงเทพ-มหานครจัดขึ้น และประสานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ และยังมี "แก้มลิงเอกชน" ขนาดเล็กที่เกิดจากการร่วมกันอาสาของประชาชน โดยใช้แหล่งน้ำ เช่น บ่อพักน้ำในหมู่บ้านหรือบ้านเรือนของตนเก็บกักน้ำฝนไว้ระยะหนึ่ง ก่อนปล่อยออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะในภายหลังทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวไทย ในขณะที่สำนักการระบายน้ำได้สนองแนวพระราชดำริอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปัญหาน้ำท่วมสามารถคลี่คลายไปได้บึงมะขามเทศมีเนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ 3 งาน 85 ตร.ว. สภาพปัจจุบันมีการปลูกต้นไม้เป็นสวนป่าบางแห่งริมบึง ทำให้เหลือสภาพพื้นที่เป็นบึงประมาณ 31 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นคันดินรอบบึงและปลูกสวนป่าบึงสะแกงามสามเดือนมีเนื้อที่ตามทะเบียนที่สาธารณะประมาณ 87 ไร่ แต่จากการรังวัดได้เนื้อที่ประมาณ 66 ไร่ 3 งาน 53 ตร.ว. ปัจจุบันเรื่องอยู่ระหว่างขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญที่หลวง สภาพปัจจุบันเป็นที่ลุ่มว่างเปล่า มีประชาชนเลี้ยงปลาในบึงความเป็นมาบึงมะขามเทศและบึงสะแกงามสามเดือน เป็นบึงสาธารณประโยชน์ ตั้งอยู่ ซ.ประชาร่วมใจ 47 ถ.ประชาร่วมใจแขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา โดยมีรายละเอียดของบึงทั้งสอง ดังนี้* วิศวกรโยธา 7 วช. กลุ่มงานบริหารโครงการ กองพัฒนาระบบหลักปวุติ บุณยาภรณ์ *โโคครงกกาารแแกก้้ม้มลิิงิงวารสารสำนักการระบายน้ำ 8บึงทั้งสองแห่งมีลำรางสาธารณะเชื่อมติดต่อกัน แต่ลำรางดังกล่าวมีสภาพตื้นเขินและบึงทั้งสองบึง มีคลองสาธารณะเชื่อมต่อบึงกับคลองแสนแสบได้แก่ คลองพระราชดำริ 2 คลองโต๊ะเจริญ คลองเกาะขุนเณร บึงทั้งสองแห่งจึงมีความเหมาะสมที่จะนำน้ำจากพื้นที่ตอนบนจากคลองแยกคลองหกวาสายล่าง และนำน้ำจากคลองแสนแสบเข้ามาเก็บกักไว้ในบึงวัตถุประสงค์สำนักการระบายน้ำจะดำเนินการพัฒนาโดยการขุดลอกบึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลอง-เชื่อมต่างๆ ให้เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำ และเพื่อนำน้ำมาใช้ในฤดูแล้ง โดยการขุดลอกคลองเชื่อมต่างๆ ให้ไหลเชื่อมถึงกันรวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเช่น ทำนบ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในพื้นที่แก้มลิงดังกล่าวรายละเอียดการดำเนินการสำนักการระบายน้ำจะดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง บึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลองเชื่อมต่างๆเป็นพื้นที่แก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ โดยการขุดลอกบึงทั้ง 2 แห่งและคลองเชื่อมต่างๆ และการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำนบกั้นน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์ เพื่อควบคุมระดับน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำ ได้ทั้งสิ้น 300,000 ลบ.ม. ซึ่งจะดำเนินการในปี 2549 แล้วเสร็จปี 2550ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณปี 2550วงเงินงบประมาณ รวมทั้งหมด 88,900,000.- บาท : ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 88,900,000.-บาทปริมาณงาน1. งานขุดลอกบึงมะขามเทศ, บึงสะแกงามสามเดือนและลำรางสาธารณะ 5. ก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. จำนวน 1 แห่ง2. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6. ก่อสร้างสะพานท่อ จำนวน 2 แห่งขนาด 3 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง 7. ก่อสร้างอาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่3. ก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 แห่งขนาด 2 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง4. ก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุมระดับน้ำ ตามลำรางสาธารณะพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 แห่ง
อ้างอิงจากhttp://images.google.co.th/imglanding