วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการแก้มลิง


โครงการแก้มลิง

เป็นโครงการที่อาศัยหลักทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากไปเก็บไว้ที่แก้มลิง จะเอากล้วยไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อน แล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนเข้าไปภายหลัง"ด้วยวิธีการเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาเป็นแนวคิดในการจัดการกับปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯและพื้นที่ใกล้เคียง โดยกำหนดให้มีการหาพื้นที่ว่างหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่สามารถรองรับและพักน้ำไว้ได้ในยามน้ำหลากก่อนที่จะค่อยๆ ระบายลงสู่แม่น้ำหรือทะเลในภายหลังเช่นเดียวกับที่ลิงเก็บตุนกล้วยไว้ในแก้มก่อนที่ค่อยๆ ออกมาเคี้ยวกินทีหลังนั่นเองจากหลักการนี้เอง ได้นำไปสู่โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยอาศัยวิธีการผันน้ำจากพื้นที่ตอนเหนือของกรุงเทพฯ ไหลลงมาตามคลองในแนวทิศเหนือและทิศใต้ มาเก็บกักและพักไว้ในคลองขนาดใหญ่บริเวณชายทะเล ซึ่งทำหน้าที่เป็นแก้มลิง เมื่อถึงเวลาน้ำลง ซึ่งเป็นเวลาที่ระดับน้ำในคลองสูงกว่าระดับน้ำทะเล ก็ให้เปิดประตูระบายน้ำที่ปากคลอง เพื่อให้น้ำไหลออกสู่ทะเลตามแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะเดียวกันก็ให้สูบน้ำออกอย่างช้า เพื่อช่วยในการระบายน้ำท่วมจากพื้นที่ตอนบนไหลลง "แก้มลิง" ได้ตลอดเวลาและเมื่อเวลาน้ำขึ้นก็ให้ปิดประตูระบายน้ำปากคลองเสีย เพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่ "แก้มลิง" ซึ่งเป็นไปตามหลักการ "น้ำไหลทางเดียว"ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงมี "แก้มลิง" กระจายอยู่ในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมแทบทุกแห่งทั้ง "แก้มลิง" ที่กรุงเทพ-มหานครจัดขึ้น และประสานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจอื่นๆ และยังมี "แก้มลิงเอกชน" ขนาดเล็กที่เกิดจากการร่วมกันอาสาของประชาชน โดยใช้แหล่งน้ำ เช่น บ่อพักน้ำในหมู่บ้านหรือบ้านเรือนของตนเก็บกักน้ำฝนไว้ระยะหนึ่ง ก่อนปล่อยออกสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะในภายหลังทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนชาวไทย ในขณะที่สำนักการระบายน้ำได้สนองแนวพระราชดำริอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปัญหาน้ำท่วมสามารถคลี่คลายไปได้บึงมะขามเทศมีเนื้อที่ประมาณ 54 ไร่ 3 งาน 85 ตร.ว. สภาพปัจจุบันมีการปลูกต้นไม้เป็นสวนป่าบางแห่งริมบึง ทำให้เหลือสภาพพื้นที่เป็นบึงประมาณ 31 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นคันดินรอบบึงและปลูกสวนป่าบึงสะแกงามสามเดือนมีเนื้อที่ตามทะเบียนที่สาธารณะประมาณ 87 ไร่ แต่จากการรังวัดได้เนื้อที่ประมาณ 66 ไร่ 3 งาน 53 ตร.ว. ปัจจุบันเรื่องอยู่ระหว่างขั้นตอนการออกหนังสือสำคัญที่หลวง สภาพปัจจุบันเป็นที่ลุ่มว่างเปล่า มีประชาชนเลี้ยงปลาในบึงความเป็นมาบึงมะขามเทศและบึงสะแกงามสามเดือน เป็นบึงสาธารณประโยชน์ ตั้งอยู่ ซ.ประชาร่วมใจ 47 ถ.ประชาร่วมใจแขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา โดยมีรายละเอียดของบึงทั้งสอง ดังนี้* วิศวกรโยธา 7 วช. กลุ่มงานบริหารโครงการ กองพัฒนาระบบหลักปวุติ บุณยาภรณ์ *โโคครงกกาารแแกก้้ม้มลิิงิงวารสารสำนักการระบายน้ำ 8บึงทั้งสองแห่งมีลำรางสาธารณะเชื่อมติดต่อกัน แต่ลำรางดังกล่าวมีสภาพตื้นเขินและบึงทั้งสองบึง มีคลองสาธารณะเชื่อมต่อบึงกับคลองแสนแสบได้แก่ คลองพระราชดำริ 2 คลองโต๊ะเจริญ คลองเกาะขุนเณร บึงทั้งสองแห่งจึงมีความเหมาะสมที่จะนำน้ำจากพื้นที่ตอนบนจากคลองแยกคลองหกวาสายล่าง และนำน้ำจากคลองแสนแสบเข้ามาเก็บกักไว้ในบึงวัตถุประสงค์สำนักการระบายน้ำจะดำเนินการพัฒนาโดยการขุดลอกบึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลอง-เชื่อมต่างๆ ให้เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครนอกคันกั้นน้ำ และเพื่อนำน้ำมาใช้ในฤดูแล้ง โดยการขุดลอกคลองเชื่อมต่างๆ ให้ไหลเชื่อมถึงกันรวมทั้งก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเช่น ทำนบ ประตูระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในพื้นที่แก้มลิงดังกล่าวรายละเอียดการดำเนินการสำนักการระบายน้ำจะดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง บึงมะขามเทศ บึงสะแกงามสามเดือน และคลองเชื่อมต่างๆเป็นพื้นที่แก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ โดยการขุดลอกบึงทั้ง 2 แห่งและคลองเชื่อมต่างๆ และการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ทำนบกั้นน้ำ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำพร้อมอุปกรณ์ เพื่อควบคุมระดับน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำ ได้ทั้งสิ้น 300,000 ลบ.ม. ซึ่งจะดำเนินการในปี 2549 แล้วเสร็จปี 2550ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณปี 2550วงเงินงบประมาณ รวมทั้งหมด 88,900,000.- บาท : ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 88,900,000.-บาทปริมาณงาน1. งานขุดลอกบึงมะขามเทศ, บึงสะแกงามสามเดือนและลำรางสาธารณะ 5. ก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล. จำนวน 1 แห่ง2. งานก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 6. ก่อสร้างสะพานท่อ จำนวน 2 แห่งขนาด 3 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง 7. ก่อสร้างอาคารที่ทำการเจ้าหน้าที่3. ก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมทำนบกั้นน้ำ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1 แห่งขนาด 2 ลบ.ม./วินาที พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 แห่ง4. ก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุมระดับน้ำ ตามลำรางสาธารณะพร้อมอุปกรณ์ จำนวน 2 แห่ง
อ้างอิงจากhttp://images.google.co.th/imglanding

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น